ข้อมูลทั่วไปสำหรับนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาถึงอุทยานแห่งชาติภูกระดึง ก่อนที่ท่านและคณะจะเดินทางขึ้นเขาขอให้ติดต่อเจ้าหน้าที่ตามลำดับ ดังนี้
1. ติดต่อขอเช่าเต็นท์กับเจ้าหน้าที่บ้านพัก และสำหรับนักท่องเที่ยวที่ได้รับอนุญษตให้ใช้บ้านพักหรือเต็นท์จากกรมอุทยานแห่งชาติมาแล้วกรุณาแจ้งให้เจ้าหน้าที่งานบ้านพัก ณ อาคารติดต่อที่พัก ซุ้มหมายเลข 1 ทราบ
2. สำหรับนักท่องเที่ยวที่นำเต็นท์มาเอง ติดต่อชำระค่าขอใช้สถานที่กางเต็นท์ในอัตรา 30 /คน/คืน ณ อาคารติดต่อที่พัก ซุ้มหมายเลข 2 และในกรณีที่เต็นท์ทางอุทยานแห่งชาติภูกระดึงเต็มท่านจะต้องชำระค่าขอใช้สถานที่กางเต็นท์ในอัตราข้างต้นเช่นเดียวกัน และท่านสามารถติดต่อเช่าเต็นท์ได้บนยอดเขา
3. สำหรับนักท่องเที่ยวท่านใดหรือคณะใด นำบรรจุภัณฑ์ต่างมา เช่นขวดแก้ว, ขวดพลาสติก, ซองพลาสติก,กล่องกระดาษ หรือ ที่ย่อยสลายเองตามธรรมชาติไม่ได้หรือต้องใช้เวลาในการย่อยสลายนาน ท่านจะต้องติดต่อมัดจำบรรจุภัณฑ์ต่างๆ ตามที่ทางอุทยานแห่งชาติภูกระดึงกำหนดไว้ แล้ววันลงเขาให้ท่านนำบรรจุภัณฑ์ดังกล่าวที่เป็นขยะมารับเงินมัดจำนั้นคืน พร้อมทั้งทางอุทยานแห่งชาติภูกระดึงจะออกใบประกาศเกียรติคุณให้ท่านเพื่อแสดงว่าท่านเป็นผู้ที่เสียสละและบำเพ็ญประโยชน์ต่ออุทยานแห่งชาติภูกระดึง ซุ้มหมายเลข 3
4. ติดต่อจ้างหาบสัมภาระได้ที่อาคารสัมภาระในอัตราราคากิโลกรัมละ 10 บาท ซุ้มหมายเลข 4
5. ชำระค่าธรรมเนียมเดินขึ้นเขาได้ที่ซุ้มจำหน่ายบัตรค่าธรรมเนียม ในอัตราเด็ก 10 บาท ผู้ใหญ่ 20 บาท ชาวต่างประเทศ เด็ก 100 บาท ผู้ใหญ่ 200 บาท ในกรณีที่เป็นนักเรียน นิสิต นักศึกษา เมื่อยืนประจำตัวทางอุทยานแห่งชาติ จะเก็บค่าธรรมเนียมขึ้นเขาในอัตรา 10 บาท ผู้สูงอายุตั้งแต่เกิน 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไปจะต้องแสดงบัตรประจำตัวของท่านเพื่อไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมขึ้นเขา ซุ้มหมายเลข 5
ลักษณะภูมิประเทศ สภาพทั่วไปของอุทยานแห่งชาติภูกระดึง เป็นภูเขาหินทรายยอดตัดอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของที่ราบสูงโคราช ใกล้กับด้านลาดทิศตะวันออกของเทือกเขาเพชรบูรณ์ ลักษณะโครงสร้างทางธรณีของภูกระดึงเกิดขึ้นในมหายุค Mesozoic เป็นหินในชุดโคราช ประกอบด้วยชั้นหินหมวดหินภูพานหมวดหินเสาขัว หมวดหินพระวิหาร และหมวดหินภูกระดึง พื้นที่ส่วนใหญ่ของภูเขาอยู่ที่ความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางระหว่าง 400-1,200 เมตร มีพื้นที่ราบบนยอดเขากว้างใหญ่คล้ายรูใบบอน ประกอบด้วยเนินเตี้ยๆ ยอดสูงสุดคือ ภูกุ่มข้าว สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,350 เมตร สภาพพื้นที่ราบบนยอดภูกระดึงมีส่วนสูงอยู่ทางด้านตะวันตกและตะวันออกเฉียงใต้ พื้นที่ค่อยๆ ลาดเทลงมาทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ทำให้ลำธารสายต่างๆ ที่เกิดจากแหล่งน้ำบนภูเขาไหลไปรวมกันทางด้านนี้ เป็นแหล่งต้นน้ำของลำน้ำพอง ซึ่งหล่อเลี้ยงเขื่อนอุบลรัตน์และเขื่อนหนองหวาย ในจังหวัดขอนแก่น ลักษณะภูมิอากาศ ภูมิอากาศของอุทยานแห่งชาติภูกระดึงบริเวณที่ระดับต่ำตามเชิงเขา มีสภาพโดยทั่วไปใกล้เคียงกับบริเวณอื่นๆ ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ฤดูฝนเริ่มตั้งแต่เดือนเมษายนถึงเดือนตุลาคม ฝนตกชุกที่สุดระหว่างเดือนสิงหาคม-กันยายน อุณหภูมิเฉลี่ยรายปี 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุดในเดือนมกราคม และอุณหภูมิสูงสุดในเดือนเมษายน สภาพอากาศทั่วไปบนยอดภูกระดึง แตกต่างจากสภาพอากาศในที่ราบต่ำเป็นอย่างมาก โดยปริมาณน้ำฝนจะเพิ่มขึ้นอีกประมาณไม่ต่ำกว่าร้อยละ 30 ของปริมาณน้ำฝนบนที่ต่ำ เนื่องจากอิทธิพลของเมฆ/หมอกที่ปกคลุมยอดภูกระดึงเป็นเนืองนิจ ในช่วงเดือนธันวาคม-มกราคมอุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ยระหว่าง 0-10 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ยระหว่าง 21-24 องศาเซลเซียส ส่วนในฤดูร้อนระหว่างเดือนมีนาคม-เมษายน อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ยระหว่าง 12-19 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ยระหว่าง 23-30 องศาเซลเซียส อากาศบนยอดภูกระดึงมักจะแปรปรวน มีเมฆหมอก ลอยต่ำปกคลุมบ่อยครั้ง อากาศจึงค่อนข้างเย็นตลอดปี
ในช่วงฤดูฝน มักเกิดภัยธรรมชาติ เช่น เกิดการพังทะลายของภูเขาและมีน้ำป่า ทางอุทยานแห่งชาติจึงกำหนดให้ปิด-เปิดการท่องเที่ยวเฉพาะบนยอดเขาภูกระดึง เพื่อความปลอดภัยของนักท่องเที่ยว และให้สภาพธรรมชาติและสภาพแวดล้อมได้มีการพักฟื้นตัว หลังจากนักท่องเที่ยวไปเยี่ยมชมอย่างมากในแต่ละปี
พืชพรรณและสัตว์ป่า สังคมพืชของภูกระดึงเป็นป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์ที่สุดป่าหนึ่ง มีทั้งป่าผลัดใบ และป่าดงดิบ ที่ระดับความสูงต่างๆ จำแนกออกได้เป็น
ป่าเต็งรัง พบบนที่ราบเชิงเขาและบนที่ลาดชันจนถึงระดับความสูงจากระดับน้ำทะเล ประมาณ 600 เมตร ประกอบด้วยพันธุ์ไม้ที่สำคัญ ได้แก่ เต็ง รัง เหียง พลวง กราด รกฟ้า อ้อยช้าง กว้าว มะกอกเลื่อม มะค่าแต้ ช้างน้าว ติ้วขน ยอป่า ฯลฯ พืชพื้นล่างประกอบด้วย หญ้าเพ็ก ขึ้นเป็นกอหนาแน่น แทรกด้วยไม้พุ่มและพืชล้มลุก
ป่าเบญจพรรณ พบตั้งแต่บนพื้นที่ราบเชิงเขาและที่ลาดชันตามไหล่เขารอบภูกระดึง จนถึงระดับความสูงจากน้ำทะเลประมาณ 950 เมตร พันธุ์ไม้ที่สำคัญได้แก่ แดง ประดู่ป่า กระบก ตะแบกเลือด ยมหิน มะกอก งิ้วป่า แสมสาร มะค่าโมง ตะคร้ำ สมอไทย สำโรง โมกมัน ฯลฯ พืชพื้นล่างประกอบด้วยหญ้าและกอไผ่ของไผ่รวก ไผ่ไร่ ไผ่หลวง ไผ่ซางหม่น ไม้พุ่ม เช่น หนามคณฑา กะตังใบ สังกรณี ไผ่หวานบ้าน ฯลฯ ไม้เถา เช่น แก้วมือไว สายหยุด นมวัว ตีนตั่ง หนอนตายหยาก กลอย ฯลฯ พืชล้มลุก เช่น บุกใหญ่ ผักปราบ แห้วกระต่าย ฯลฯ พืชกาฝากและอิงอาศัย เช่น ข้าวก่ำนกยูง ดอกดิน ชายผ้าสีดา เป็นต้น
1. ติดต่อขอเช่าเต็นท์กับเจ้าหน้าที่บ้านพัก และสำหรับนักท่องเที่ยวที่ได้รับอนุญษตให้ใช้บ้านพักหรือเต็นท์จากกรมอุทยานแห่งชาติมาแล้วกรุณาแจ้งให้เจ้าหน้าที่งานบ้านพัก ณ อาคารติดต่อที่พัก ซุ้มหมายเลข 1 ทราบ
2. สำหรับนักท่องเที่ยวที่นำเต็นท์มาเอง ติดต่อชำระค่าขอใช้สถานที่กางเต็นท์ในอัตรา 30 /คน/คืน ณ อาคารติดต่อที่พัก ซุ้มหมายเลข 2 และในกรณีที่เต็นท์ทางอุทยานแห่งชาติภูกระดึงเต็มท่านจะต้องชำระค่าขอใช้สถานที่กางเต็นท์ในอัตราข้างต้นเช่นเดียวกัน และท่านสามารถติดต่อเช่าเต็นท์ได้บนยอดเขา
3. สำหรับนักท่องเที่ยวท่านใดหรือคณะใด นำบรรจุภัณฑ์ต่างมา เช่นขวดแก้ว, ขวดพลาสติก, ซองพลาสติก,กล่องกระดาษ หรือ ที่ย่อยสลายเองตามธรรมชาติไม่ได้หรือต้องใช้เวลาในการย่อยสลายนาน ท่านจะต้องติดต่อมัดจำบรรจุภัณฑ์ต่างๆ ตามที่ทางอุทยานแห่งชาติภูกระดึงกำหนดไว้ แล้ววันลงเขาให้ท่านนำบรรจุภัณฑ์ดังกล่าวที่เป็นขยะมารับเงินมัดจำนั้นคืน พร้อมทั้งทางอุทยานแห่งชาติภูกระดึงจะออกใบประกาศเกียรติคุณให้ท่านเพื่อแสดงว่าท่านเป็นผู้ที่เสียสละและบำเพ็ญประโยชน์ต่ออุทยานแห่งชาติภูกระดึง ซุ้มหมายเลข 3
4. ติดต่อจ้างหาบสัมภาระได้ที่อาคารสัมภาระในอัตราราคากิโลกรัมละ 10 บาท ซุ้มหมายเลข 4
5. ชำระค่าธรรมเนียมเดินขึ้นเขาได้ที่ซุ้มจำหน่ายบัตรค่าธรรมเนียม ในอัตราเด็ก 10 บาท ผู้ใหญ่ 20 บาท ชาวต่างประเทศ เด็ก 100 บาท ผู้ใหญ่ 200 บาท ในกรณีที่เป็นนักเรียน นิสิต นักศึกษา เมื่อยืนประจำตัวทางอุทยานแห่งชาติ จะเก็บค่าธรรมเนียมขึ้นเขาในอัตรา 10 บาท ผู้สูงอายุตั้งแต่เกิน 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไปจะต้องแสดงบัตรประจำตัวของท่านเพื่อไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมขึ้นเขา ซุ้มหมายเลข 5
ลักษณะภูมิประเทศ สภาพทั่วไปของอุทยานแห่งชาติภูกระดึง เป็นภูเขาหินทรายยอดตัดอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของที่ราบสูงโคราช ใกล้กับด้านลาดทิศตะวันออกของเทือกเขาเพชรบูรณ์ ลักษณะโครงสร้างทางธรณีของภูกระดึงเกิดขึ้นในมหายุค Mesozoic เป็นหินในชุดโคราช ประกอบด้วยชั้นหินหมวดหินภูพานหมวดหินเสาขัว หมวดหินพระวิหาร และหมวดหินภูกระดึง พื้นที่ส่วนใหญ่ของภูเขาอยู่ที่ความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางระหว่าง 400-1,200 เมตร มีพื้นที่ราบบนยอดเขากว้างใหญ่คล้ายรูใบบอน ประกอบด้วยเนินเตี้ยๆ ยอดสูงสุดคือ ภูกุ่มข้าว สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,350 เมตร สภาพพื้นที่ราบบนยอดภูกระดึงมีส่วนสูงอยู่ทางด้านตะวันตกและตะวันออกเฉียงใต้ พื้นที่ค่อยๆ ลาดเทลงมาทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ทำให้ลำธารสายต่างๆ ที่เกิดจากแหล่งน้ำบนภูเขาไหลไปรวมกันทางด้านนี้ เป็นแหล่งต้นน้ำของลำน้ำพอง ซึ่งหล่อเลี้ยงเขื่อนอุบลรัตน์และเขื่อนหนองหวาย ในจังหวัดขอนแก่น ลักษณะภูมิอากาศ ภูมิอากาศของอุทยานแห่งชาติภูกระดึงบริเวณที่ระดับต่ำตามเชิงเขา มีสภาพโดยทั่วไปใกล้เคียงกับบริเวณอื่นๆ ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ฤดูฝนเริ่มตั้งแต่เดือนเมษายนถึงเดือนตุลาคม ฝนตกชุกที่สุดระหว่างเดือนสิงหาคม-กันยายน อุณหภูมิเฉลี่ยรายปี 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุดในเดือนมกราคม และอุณหภูมิสูงสุดในเดือนเมษายน สภาพอากาศทั่วไปบนยอดภูกระดึง แตกต่างจากสภาพอากาศในที่ราบต่ำเป็นอย่างมาก โดยปริมาณน้ำฝนจะเพิ่มขึ้นอีกประมาณไม่ต่ำกว่าร้อยละ 30 ของปริมาณน้ำฝนบนที่ต่ำ เนื่องจากอิทธิพลของเมฆ/หมอกที่ปกคลุมยอดภูกระดึงเป็นเนืองนิจ ในช่วงเดือนธันวาคม-มกราคมอุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ยระหว่าง 0-10 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ยระหว่าง 21-24 องศาเซลเซียส ส่วนในฤดูร้อนระหว่างเดือนมีนาคม-เมษายน อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ยระหว่าง 12-19 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ยระหว่าง 23-30 องศาเซลเซียส อากาศบนยอดภูกระดึงมักจะแปรปรวน มีเมฆหมอก ลอยต่ำปกคลุมบ่อยครั้ง อากาศจึงค่อนข้างเย็นตลอดปี
ในช่วงฤดูฝน มักเกิดภัยธรรมชาติ เช่น เกิดการพังทะลายของภูเขาและมีน้ำป่า ทางอุทยานแห่งชาติจึงกำหนดให้ปิด-เปิดการท่องเที่ยวเฉพาะบนยอดเขาภูกระดึง เพื่อความปลอดภัยของนักท่องเที่ยว และให้สภาพธรรมชาติและสภาพแวดล้อมได้มีการพักฟื้นตัว หลังจากนักท่องเที่ยวไปเยี่ยมชมอย่างมากในแต่ละปี
พืชพรรณและสัตว์ป่า สังคมพืชของภูกระดึงเป็นป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์ที่สุดป่าหนึ่ง มีทั้งป่าผลัดใบ และป่าดงดิบ ที่ระดับความสูงต่างๆ จำแนกออกได้เป็น
ป่าเต็งรัง พบบนที่ราบเชิงเขาและบนที่ลาดชันจนถึงระดับความสูงจากระดับน้ำทะเล ประมาณ 600 เมตร ประกอบด้วยพันธุ์ไม้ที่สำคัญ ได้แก่ เต็ง รัง เหียง พลวง กราด รกฟ้า อ้อยช้าง กว้าว มะกอกเลื่อม มะค่าแต้ ช้างน้าว ติ้วขน ยอป่า ฯลฯ พืชพื้นล่างประกอบด้วย หญ้าเพ็ก ขึ้นเป็นกอหนาแน่น แทรกด้วยไม้พุ่มและพืชล้มลุก
ป่าเบญจพรรณ พบตั้งแต่บนพื้นที่ราบเชิงเขาและที่ลาดชันตามไหล่เขารอบภูกระดึง จนถึงระดับความสูงจากน้ำทะเลประมาณ 950 เมตร พันธุ์ไม้ที่สำคัญได้แก่ แดง ประดู่ป่า กระบก ตะแบกเลือด ยมหิน มะกอก งิ้วป่า แสมสาร มะค่าโมง ตะคร้ำ สมอไทย สำโรง โมกมัน ฯลฯ พืชพื้นล่างประกอบด้วยหญ้าและกอไผ่ของไผ่รวก ไผ่ไร่ ไผ่หลวง ไผ่ซางหม่น ไม้พุ่ม เช่น หนามคณฑา กะตังใบ สังกรณี ไผ่หวานบ้าน ฯลฯ ไม้เถา เช่น แก้วมือไว สายหยุด นมวัว ตีนตั่ง หนอนตายหยาก กลอย ฯลฯ พืชล้มลุก เช่น บุกใหญ่ ผักปราบ แห้วกระต่าย ฯลฯ พืชกาฝากและอิงอาศัย เช่น ข้าวก่ำนกยูง ดอกดิน ชายผ้าสีดา เป็นต้น